ออนไลน์ 149 คน
เยี่ยมชม 10,992 คน
ยุคที่ 1
ประมาณปี พ.ศ. 1990 พม่าได้แผ่อำนาจเข้ากรุงสุโขทัยและตีหัวเมืองทางเหนือเมืองเชียงใหม่ เมืองสอด เมืองเชียงเมืองเชลียง เมืองสองแคว เมืองสระหลวง(พิจิตร) ก่อนที่จะเข้ากรุงสุโขทัย พิษณุโลก ถ้าเป็นฤดูน้ำหลากในเดือน 10 -11 น้ำจะท่วมมาก พม่าจะพักแรมค่ายทหารที่บริเวณเหนือบ้านต่อบ้านซ่าน จะทิ้งซากคลองที่แยกจากแม่น้ำฝากระดานเพื่อลัดสู่แม่น้ำยมเพื่อเข้าสุโขทัย และไปพิษณุโลก ได้ชื่อคลองนี้ ยังมีนามว่า คลองพม่า และจะมีเส้นทางทัพคู่ขนานกับคลองนี้เพื่อไปเมืองล่างอีก หลักฐานก็คือ ซากเจดีย์เก่า สันนิษฐานว่ามีแม่ทัพมาเสียชีวิตด้วยโรคร้ายจึงสร้างเจดีย์ และเสาหงส์ตั้งไว้จึงได้สร้างวัดขึ้นที่นี่ และได้รับอิทธิพล ศิลปะสืบทอด เช่น เจดีย์ เสาหงส์ กุฎิพระหลังใหญ่ ซึ่งยังอิทธิพลพม่าต่อมาให้เราเห็นถึงปัจจุบัน
ที่มา : จากบันทึก นายเว้ง ขำพงษ์ ครูโรงเรียนบ้านไร่ บันทึกปี 2465
ยุคที่ 2
เมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีเศษมาแล้ว (ประมาณ พ.ศ. 2430 – 2440) ชาวลาวจากนครเวียงจันทร์ ประเทศลาว ที่เรียกกันว่า ลาวพรวน กลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและตั้งถิ่นฐานที่เมืองด้ง (บ้านหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ในปัจจุบัน) แต่อยู่ได้ไม่นานก็ถูกเจ้าของถิ่นเดิมรบกวนจึงต้องอพยพร่นลงมาทางใต้ ตามแนวลุ่มแม่น้ำยมจนถึงบ้านสระบู (บ้านหนองกลับ อ.สวรรคโลก ในปัจจุบัน) ได้หักร้างถางป่าอยู่รวมกับเจ้าของถิ่นเดิมได้ประมาณเกือบยี่สิบปี ก็ไม่สามารถที่จะทนการรบกวนจากเจ้าของถิ่น เดิมได้อีก จึงอพยพแยกกันเป็นสามกลุ่ม โดย
กลุ่มที่ 1 อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บริเวณตำบลบ้านซ่านปัจจุบัน
กลุ่มที่ 2 อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนเหนือของตำบลบ้านไร่ (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 1,2)
กลุ่มที่ 3 อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านประดู่หลุม (ปัจจุบันเป็นบ้านแม่น้ำหมู่ที่ 6 ต.บ้านไร่)
กลุ่มนี้บางส่วนไม่พอใจพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีน้ำท่วม จึงได้แยกตัวออกไปหาที่อยู่ใหม่ในที่ทางตอนใต้ ปัจจุบันคือ หมู่ที่ 4 บ้านดอนจันทร์ ต.บ้านไร่ชาวลาวพรวนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณตำบลบ้านไร่นี้ล้วนนับถือศาสนาพุทธจึงได้มีการสร้างวัดเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลและบวชลูกหลานขึ้น โดยกลุ่มที่ 1 ได้สร้างวัดบ้านซ่าน ขึ้นก่อน ต่อมากลุ่มที่ 2 จึงได้สร้างวัดบ้านไร่ สำหรับกลุ่มที่ 3 ก็ได้สร้างวัดขึ้นเช่นกัน แต่เนื่องจาก กลุ่มนี้เป็นชุมชนขนาดเล็ก วัดจึงกลายเป็นวัดร้างและหมดสภาพไปในที่สุด
ชื่อ บ้านไร่ เกิดขึ้นจากการที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานแต่เดิม ได้ช่วยกันแผ้วถางป่าใช้ในการทำไร่ ในระยะแรก แต่ต่อมาภายหลังจึงได้ปรับปรุงเป็นที่นา
ชื่อ บ้านไร่ จึงเป็นที่เรียกชุมชนนี้และได้กลายเป็นชื่อ ตำบลบ้านไร่ ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอศรีสำโรง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีสำโรง ประมาณ 12 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดสุโขทัย ประมาณ 30 กิโลเมตร
ทิศเหนือ | ติดต่อกับ | ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย |
ทิศใต้ | ติดต่อกับ | ตำบลวังใหญ่ อำเภอศรีสำโรง และตำบลวังทองแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับ | ตำบลบ้านซ่าน และตำบลวังทอง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับ | ตำบลราวต้นจันทร์ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย |
ตำบลบ้านไร่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ประมาณ 37.74 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 23,590 ไร่
ตำบลบ้านไร่ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน พื้นที่เหมาะแก่การเกษตร ในฤดูฝนจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมส่วนในฤดูแล้งก็ประสบกับปัญหาภัยแล้งขาดน้ำในการทำการเกษตร
จำนวนประชากร (คน) | ||||||
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนครัวเรือน | ชื่อผู้นำ |
1 | บ้านไร่ | 266 | 282 | 548 | 275 | นายบำรุง เทียนบุตร นายชิน รื่นรส |
2 | บ้านไร่ | 143 | 132 | 275 | 110 | นายธีระศักดิ์ สุขสัมพันธ์ |
3 | บ้านไร่ | 271 | 353 | 624 | 256 | นางสาวยุพาภรณ์ ปานมั่น |
4 | บ้านดอนจันทร์ | 484 | 502 | 986 | 332 | นายสมศักดิ์ อินหล่อ |
5 | บ้านไร่ | 269 | 300 | 569 | 194 | นายสมนึก นุเวที นายชัยมูล มะลิวัลย์ |
6 | บ้านแม่น้ำ | 185 | 211 | 396 | 125 | นางสาวนิสากร ถ้วนคำ นางสุภาพร ราชอาสา |
7 | บ้านไร่ | 205 | 237 | 442 | 151 | นางสำราญ ด้วงบาง นายณเรศ บุญทวี |
8 | บ้านบุ่งสัก | 182 | 198 | 380 | 143 | นายธีรวัฒน์ วรรณบุตร นางสวรรค์ วังทอง |
9 | บ้านนาพง | 136 | 160 | 296 | 95 | นายราเชน ภู่รพ |
10 | บ้านคลองชัด | 133 | 135 | 268 | 84 | นายวีระ ผลสมบูรณ์โชค นายโปรด สุวรรณโฉม |
11 | บ้านไร่ใต้ | 258 | 248 | 506 | 158 | นางอำนวย ปานมั่น นายบรรเทา คเชนทร |
รวม | 2,532 | 2,758 | 5,290 | 1,923 |